วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
41-สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
41-สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
41-สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
การปรับปรุงทางด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทยเริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตกภายหลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาทางการค้ากับ ชาวตะวันตก
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทยเริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตกภายหลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาทางการค้ากับ ชาวตะวันตก
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4
- อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ
- ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้
- ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส
- ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ
- ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา
- โปรดให้สตรีคณะมิชชันนารีผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้สตรีในราชสำนัก
การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 1. ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน
เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ
2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน
เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ
3. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย
4. ฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรโดยจะเสด็จ
ออกมารับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกณ เดือนละ 4 ครั้ง
5. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา
6. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ
7. กำหนดให้ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาล ซึ่งรัชกาลที่ 4
ทรงสร้างขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
8. รัชกาลที่ 4 ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกาย เมื่อครั้งยังผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3
การปรับปรุงด้านสาธารณสุขสมัยรัชกาลที่ 4
ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,
(กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)
(กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)
คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)
สุคน สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า
ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การสร้างและพัฒนาชาติด้านเศรษฐกิจ
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจปรากฏในหลัก 6 ประการ โดยขั้นแรกรัฐมอบหมายให้ หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม(นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า
คุณวุฒิของตน โดยได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลหรือสหกรณ์ตามที่กำหนดซึ่ง
เค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปรวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว เพราะเป็นนโยบายของระบอบคอมมิวนิสต์จึงล้มเลิกไปในที่สุด
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจปรากฏในหลัก 6 ประการ โดยขั้นแรกรัฐมอบหมายให้ หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม(นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า
- 1.รัฐบาลจะบังคับซื้อที่ดินทางกสิกรรมของราษฎรทั้งหมดโดยจ่ายเงินเป็นพันธบัตรรัฐบาล
- 2.รัฐจะจัดการเศรษฐกิจทั้งหมดในรูปของระบบสหกรณ์
- 3.บุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-55 ปีจะเป็นข้าราชการทำงานให้รัฐตามความสามารถและ
คุณวุฒิของตน โดยได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลหรือสหกรณ์ตามที่กำหนดซึ่ง
เค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปรวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว เพราะเป็นนโยบายของระบอบคอมมิวนิสต์จึงล้มเลิกไปในที่สุด
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- 1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มก่อตัวช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะใช้เงินในการปรับปรุง
- หน่วยราชการและบำรุงศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก และมีรายรับลดลงเพราะเกิดปัญหาขัดแย้งในยุโรปจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
- 2.สมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเพราะสินค้าไทยขายไม่ได้ เพราะต่างชาติไม่มีการสั่งซื้อ
- 3.สมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งกระทบถึงประเทศไทยด้วย
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7
- 1.ยุบเลิกหน่วยราชการ
- 2.ปลดข้าราชการออกบางส่วน
- 3.ยอมลดรายจ่ายประจำปีของพระองค์ จาก 9 ล้าน เหลือ 6 ล้าน และ 3 ล้านบาทในที่สุดแต่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะประเทศไทยขาดแคลนผู้ชำนาญการทางเศรษฐกิจและไม่มี แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
“ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7 เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรอ้างเป็นสาเหตุในการปฏิวัติเมื่อปีพ.ศ.2475”
เศรษฐกิจไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หลังการเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ.2475 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น
สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ( ป. พิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบาย สร้างชาติทางเศรษฐกิจ โดย
หลังการเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ.2475 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น
สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ( ป. พิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบาย สร้างชาติทางเศรษฐกิจ โดย
- 1.กระตุ้นให้ประชาชนช่วยตัวเองในทางเศรษฐกิจ เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน
- 2.โฆษณาคำขวัญ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้สินค้าไทยและตื่นตัวในเรื่องชาตินิยม 3.เริ่มใช้นโยบาย รัฐวิสาหกิจ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนมากมาย
- 4.สงวนอาชีพบางอย่างให้คนไทย เช่น ตัดผม
- 5.ตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และตั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ
เศรษฐกิจไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยประสบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างหนักเพราะ
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยประสบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างหนักเพราะ
- 1.การขนส่งหยุดชะงัก ทำให้ขาดแคลนสินค้า ยารักษาโรค น้ำมัน และสินค้าไทยขายไม่ได้
- 2.ญี่ปุ่นบังคับให้ไทยขายสินค้าให้ในราคาถูก ลดค่าเงินบาท 1 บาทเท่ากับ 1 เยน ญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรไทยเอง นำมาใช้ในประเทศไทย ทำให้ไทยเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
- 3.ไทยเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก ในเขตที่ราบภาคกลางทั้งหมด
เศรษฐกิจไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
- -ไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่าง
- -รัฐบาลแก้ปัญหาโดยจัดทำโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ (วางแผนไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5) โดยกู้เงินจากธนาคารโลกในปี พ.ศ.2493 นำมาสร้างเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2500 สามารถส่งน้ำช่วยเหลือการเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง
- -ในปีพ.ศ.2504 กู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อนำมาสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก สร้างเสร็จในปีพ.ศ.2507 สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในภาคกลางและภาคเหนือรวม 36 จังหวัดและส่งน้ำไปใช้ในการเกษตร
เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
- -ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งแรกในปีพ.ศ.2504 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นระบบ
- -แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ช่วงแรก มุ่งเน้นสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ได้แก่ ทางหลวง ไฟฟ้า การชลประทาน การสื่อสาร โทรคมนาคม
- -ส่งเสริมการผลิตพืชไร่ ที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปอ อ้อย ฯลฯ
- -เกษตรกรเริ่มหันมาใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถแทรกเตอร์ รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำ ปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ
- -มีอุตสาหกรรมเกิดใหม่หลายอย่าง เช่น สิ่งทอ ผลไม้กระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้า การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ห้องเย็น
- -มีนโยบายลดการลงทุนด้านรัฐวิสาหกิจ โดยขายให้เอกชนดำเนินการเพราะรัฐทำแล้วขาดทุนเนื่องมาจากการฉ้อราษฎรบังหลวง ปัจจุบันเหลือเพียง 1.ไฟฟ้า 2.ประปา 3.โทรศัพท์ 4.รถเมล์ (ในกรุงเทพฯ) 5.รถไฟ 6.การบิน 7.ยาสูบ 8.สลากกินแบ่ง -ส่งเสริมให้เอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนทุกอย่าง ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี มีต่างประเทศมาลงทุนในไทยมากมาย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ยุโรป อเมริกา
เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- -หลังจากใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ 15 ปี (ฉบับที่ 1-3) ความเจริญกระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าสู่เมือง ทำให้เกิดปัญหาประชากรหนาแน่น แหล่ง เสื่อมโทรม ในกรุงเทพ ทำให้เกิดปัญหามากมาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4-5 จึงเน้นการกระจายรายได้ออกสู่ชนบท โดยขยาย อุตสาหกรรมและโครงการใหญ่ๆ สู่ภูมิภาค
- -หลังจากประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ประมาณ 20 ปี มูลค่าส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าตัว สินค้าใหม่ๆ ที่ทำรายได้สูง ได้แก่ สิ่งทอ อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง และรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก ทำรายได้สูง-
- -ในปี พ.ศ.2524 ไทยมีการขุดพบหลุมก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (นิกส์) โดยส่งเสริม
- -โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มุ่งเน้นให้เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก กำหนดให้ เขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น โรงงานแยกก๊าซ ปิโตรเคมี ปุ๋ยเคมี กำหนดให้แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์และอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม เพื่อการส่งออก และมีหลายโครงการดำเนินเสร็จแล้วและมี โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย
- -หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรง ปีพ.ศ.2531 (ไต้ฝุ่นเกย์) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ให้ความเห็นชอบให้มีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) เพื่อพัฒนาทรัพยากร เช่น ยางพารา กาแฟ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ดีบุก ก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมประเภทซ่อมเรือ ต่อเรือ ประมง การขนส่งเชื่อม ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย การบริหารประเทศในยุคต่อๆมาจนถึงปัจจุบันต่างก็ยึดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก จนถึงปัจจุบัน มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)
- -เศรษฐกิจแบบฟองสบู่ เกิดขึ้นสมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นลักษณะที่ดูเหมือนเศรษฐกิจในประเทศขยายตัว แต่ไทยก็เป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก ประชาชนใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย
ผลเสียหายร้ายแรงของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่
ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,- 1.ค่าของเงินบาทเริ่มตกต่ำ แต่รัฐก็พยายามรักษาค่าเงินบาทสูงกว่าความเป็นจริง
- 2.สมัยพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ เงินคงคลังที่เคยมีสูงถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐร่อยหรอลงเพราะรัฐบาลนำไปพยุงค่าของเงินบาท จนเหลือเพียง 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้ต่างประเทศไม่มั่นใจเศรษฐกิจไทย มีการถอนการลงทุน ธุรกิจต่างๆ หยุดชะงัก โรงงานอุตสาหกรรมปิดกิจการหลายแห่ง ประชาชนตกงาน เกิดภาวะ เงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อยๆจนรัฐบาลต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยขอกู้เงินมาช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เรียกว่า “เศรษฐกิจยุค IMF” ประชาชนเรียกร้องให้ พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก
- 3.หลังจากพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก นายชวน หลีกภัย เข้ามารับหน้าที่แทน สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่ไทยก็ยังเป็นหนี้ IMF และใช้หนี้ ต่อไปในปีพ.ศ.2542 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย
- 4.ยุคของรัฐบาลที่นำโดย พรรคไทยรักไทย มีนายกรัฐมนตรี คือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในหลายด้าน จนภาวะเศรษฐกิจไทยดีขึ้น มีการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก และที่สำคัญชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น เพราะรัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของคนจน และสามารถใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2546 ซึ่งถือเป็นผลงานสำคัญของรัฐบาลชุดนี้
- 5.ปัจจุบันเป็นยุคของรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ มีนายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นยุคที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ปัจจุบันเกิดปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ขึ้นราคา ทำให้เกิดผลกระทบกับการดำรงชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันปาล์ม
(กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)
คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)
คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)
สุคน สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า
ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง (รัชกาลที่ 4-7)
ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง (รัชกาลที่ 4-7)
ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง (รัชกาลที่ 4-7)
- สภาพเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระราชกรณียกิจทางการบริหารประเทศอันดับแรกที่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ คือ การลดภาษีสินค้าขาเข้า การอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ และการค้าฝิ่นโดยผ่านระบบเจ้าภาษี การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ หลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว ระบบเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบเงินตรากับนานาประเทศ
การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน
สนธิสัญญาเบาว์ริง
สาระสำคัญของสัญญาเบาว์ริงทางเศรษฐกิจ1. คนในบังคับอังกฤษหรือชาติต่างๆ ทำการค้าได้โดยเสรี
2.ยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ โดยให้เก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน อนุญาตให้
นำฝิ่นเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องขายให้กับผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นในเมืองไทยเท่านั้น
3.ไทยอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ ยกเว้นในปีที่ทำนาไม่ได้ผล 4.สินค้าออกให้เก็บเป็นภาษี
" ขาออกอย่างเดียว
5.ให้ไทยตั้งโรงภาษีหรือศุลกากร เพื่อทำการตรวจสินค้าต่างๆ ที่นำขึ้นมาจากเรือ และลงเรือเพื่อเก็บภาษีขาเข้าหรือขาออกแล้วแต่กรณีสนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจของไทยอยู่หลายประการ คือ
1.การเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ไทยยกเลิกวิธีการค้าแบบพระคลังสินค้าให้มีการค้าอย่างเสรี
2.การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การผลิตหลังจากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า
3.การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีอากร ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด
4.การขยายตัวทางเศรษฐกิจอื่นๆ มีบริษัทและร้านค้าที่ชาวต่างชาติขอเปิดขึ้น
มากมายในกรุงเทพฯ เช่น บริษัท บอร์เนียว จำกัด บริษัท เรมีเดอมองตินยี จำกัด หรือโรงแรมสมัยใหม่
เช่น โฮเตลฟอลด์ เป็นต้น
5.การพัฒนาประเทศเพื่อรองรับความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
5.1 การตัดถนน ถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road)ต่อมา
ได้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื้องนคร ถนนพระรามที่ 4 นนสีลม
5.2 การขุดคลอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงเกษม เพื่อใช้เป็นแนว
ป้องกันพระนครชั้นนอกและเพื่อสะดวกในการคมนาคม คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา คลองดำเนินสะดวก เพื่อสะดวกในการคมนาคม ขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯกับหัวเมืองใกล้เคียง
การปฏิรูปเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4
สมัยรัชกาลที่ 4 ระบบการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบ
เงินตรามีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการขาดแคลนเงินตราในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เงินตราที่ใช้อยู่ทั่วไปคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งได้มาจากหมู่เกาะมาลดีบในมหาสมุทรอินเดีย แต่อัตราแลกเปลี่ยนเบี้ยในท้องตลาดไม่ค่อยจะคงตัว โดยปกติจะอยู่ราว 800 เบี้ย ต่อ 1 เฟื้อง นอกจากนี้ก็มีการใช้เงินพดด้วง เป็นลักษณะก้องกลมมีตราประทับบนตัวด้วง เงินตราทั้ง 2ชนิดไม่เหมาะกับการค้าสมัยใหม่เพราะ เบี้ยแตกง่าย เงินพดด้วงก็ปลอมได้ง่ายและผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการครั้งเมื่อพ่อค้าต่างชาตินำเงิน
เหรียญสเปน หรือเหรียญเม็กซิโกเข้ามาใช้ ก็ไม่มีใครยอมรับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ
การค้าขายมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ชาวต่างประเทศถึงกับแนะนำให้รัฐบาลไทยเลิกใช้
เงินบาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะผลิตเงินบาทเข้ามาใช้เอง แต่รัชกาลที่ 4 ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะจะเป็นโอกาสให้มีเหรียญปลอมระบาดมากขึ้น
การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 4 ในเรื่องนี้ คือมีพระราชดำริที่จะเลิกใช้เงินพดด้วงซึ่ง
ทำด้วยมือซึ่งผลิตได้ช้าไม่ทันการมาใช้เงินเหรียญที่ผลิตจากเครื่องจักรแทน โดย ซื้อเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ เริ่มมีการผลิตเงินเหรียญเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2403 และตั้งแต่นั้นมามีการผลิตเงินเหรียญในชนิดและอัตราต่างๆออกมา
ในปีพ.ศ.2405 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้น2 ชนิด คือ อัฐมีราคา 8 อันต่อ
1 เฟื้อง และโสฬส มีราคา 16 อันต่อ 1 เฟื้อง
ปีพ.ศ.2406 โปรดเกล้าฯให้มีการผลิตเหรียญทองมีอัตราต่างกันตามลำดับ ดังนี้
คือ ทศราคาอันละ 8 บาท พิศราคาอันละ 4 บาทและพัดดึงส์ราคาอันละ 10 สลึง
ปี พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญทองแดง 2 ชนิดคือ ซีกมีราคา 2 อันต่อ
1 เฟื้อง และเซี่ยว(ปัจจุบันเรียก เสี้ยว) มีราคา 4 อันต่อ 1 เฟื้อง
โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯให้มีประกาศแจ้งให้ราษฎรได้ทราบ
และชักชวนให้ราษฎรมาใช้เงินเหรียญชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้น
นอกจากเงินเหรียญชนิดต่างๆ แล้วรัฐยังได้พิมพ์ธนบัตรที่เป็นกระดาษคล้ายกับ
ปัจจุบันด้วยสมัยนั้น เรียกว่า “หมาย”มีราคาตั้งแต่เฟื้อง จนถึง 1 บาท ผู้ที่เป็นเจ้าของหมายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อนำหมายดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติ แต่ราษฎรไม่เห็นประโยชน์จากการใช้กระดาษเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน การใช้หมายดังกล่าวจึงไม่แพร่หลาย
การตั้งโรงงานกระษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญตรา ในปีพ.ศ.2403 ในขั้นแรกเป็นวิธีการ
ที่รัฐพยายามที่จะ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่ผลที่ตามมานอกเหนือจากนั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้า เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราในระบบใหม่ที่สะดวกกว่าระบบเก่า ย่อมจะทำให้ การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ปริมาณการหมุนเวียนของสินค้ามีมากขึ้นตามไปด้วย
การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2453)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ ดังนี้
1.การปฏิรูปด้านการคลัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น
ในปี พ.ศ.2416 ในพระบรมมหาราชวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากร ทุกชนิดนำส่งพระคลังมหาสมบัติ ทำบัญชีรวบรวมผลประโยชน์ ตรวจตราการเก็บ ภาษีอากรของหน่วยราชการต่างๆ ให้เรียบร้อยรัดกุม รับผิดชอบการจ่ายเงินเดือนในอัตราที่แน่นอนให้กับข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหาร
เฉพาะในส่วนกลางแทนการจ่าย เบี้ยหวัดและเงินปี
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุค หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุค หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุค
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พัฒนาทางด้านประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 4-7
การปูพื้นฐานประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 5
การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดการยอมรับความคิดของผู้อื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตย พอสรุปได้ ดังนี้
1.ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) เพื่อแสดงการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์แต่ก็นับเป็นการเริ่มระบอบประชาธิปไตย
2.ทรงเป็นผู้นำกลุ่ม สยามหนุ่ม (Young Siam) ในการต่อสู้ทางความคิดเห็นกับคนรุ่นเก่าที่มักไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และออกหนังสือชื่อ ดรุโณวาท เพื่อเผยแพร่แนวคิดใหม่
3.ทรงยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มคนหนุ่มที่มีความคิดก้าวหน้ากลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพระราชวงศ์ และข้าราชการสามัญ ทรงยอมรับฟังว่าหนทางที่ประเทศไทยจะรักษาเอกราชไว้ได้หนทางหนึ่งนั้น คือ การปรับระบบข้าราชการ และเปลี่ยนการปกครองแบบ แอบโสลูตโมนากี (สมบูรณาญาสิทธิราชย์) เป็นแบบคอนสติติวชันแนลโมนากี ห(พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ) แม้จะยังไม่ทรงสามารถปฏิบัติตามในขณะนั้นได้ก็ตาม
4.ทรงออกพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2440 ซึ่งมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ ให้มีการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจัดว่าเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตยที่ชัดเจน
การปูพื้นฐานประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 6
ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญของโลก ที่แสดงพลังอำนาจของประชาชนเป็นกระแสประชาธิปไตยที่รุนแรง กล่าวคือ ใน พ.ศ.2451 (ก่อนขึ้นครองราชย์ 2 ปี) ประเทศตุรกีก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นแบบประชาธิปไตย ในพ.ศ.2454 เกิดการปฏิวัติในประเทศจีน ขับไล่พระจักรพรรดิเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐและใน พ.ศ.2460 พระองค์ก็ได้ทรงทราบถึงการปฏิวัติใหญ่ของพวกบอลเชวิก ล้มล้างอำนาจ ปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์และราชวงศ์ เกิดการนองเลือดทั่วไปในแผ่นดินรัสเซีย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงทราบดีว่ามีกลุ่มประชาชนคนไทยจำนวนหนึ่งที่เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง แม้จะทรงเห็นด้วย แต่ความรู้เรื่องประชาธิปไตยจำกัดขอบเขตอยู่ในคนส่วนน้อยเท่านั้น จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย เพื่อเผยแพร่ประชาธิปไตย เป็น 3 วิธี คือ
1.ทรงตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตย ดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองหรือเมืองตุ๊กตา โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ.2461 บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ในพระราชวังดุสิต (ภายหลังย้ายไปวังพญาไท) มีถนน อาคารสถานที่ราชการ ร้านค้า และบ้านเรือนเหมือนเมืองจริงๆ แต่ย่อส่วนให้เล็กลงพอเดินดูเห็นได้หมดทั้งเมือง แล้วสมมุติให้ข้าราชการบริพาร ขุนนาง มหาดเล็กของพระองค์เป็นราษฎรของเมืองนี้ จัดให้มีการเลือกตั้ง สภานคราภิบาล ทำหน้าที่ปกครองเมือง มีการออกกฎหมายจัดระบบภาษีอากร ระบบการรักษาพยาบาล และกระบวนการต่างๆ ของเมืองประชาธิปไตย มีการเรียกประชุมราษฎรสมมุติเหล่านั้น มาร่วมกันเลือกตั้ง และแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญของดุสิตธานี มีการอภิปรายถกเถียงกันระหว่างคณะนคราภิบาลกับฝ่ายค้านเพื่อเป็นแบบอย่างให้คนทั้งหลายได้เห็นและคุ้นเคยกับกระบวนการประชาธิปไตย เป็นการสอนหลักประชาธิปไตยแก่ประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการเล่นละครอยู่แล้วคนทั่วไปจึงพากันเข้าใจว่าดุสิตธานีเป็นการเล่นละครอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงไม่ได้ผลในทางปลูกฝังประชาธิปไตยมากนัก
2.ทรงเขียนบทความหนังสือพิมพ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์ นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถในทางพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองแล้ว ยังทรงเขียนบทความทางการเมืองตอบโต้กับคนหัวใหม่สามัญชน แม้พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงแต่คนทั่วไป ก็ทราบดีว่าผู้เขียน คือ พระองค์ นับเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีในหมู่พสกนิกรว่า พระมหากษัตริย์มิได้ถือพระองค์ ทรงมีพระราชหฤทัยเป็นนักประชาธิปไตย เป็นอีกก้าวหนึ่งในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยของพระองค์
3.พระราชทานอภัยโทษ กบฏ ร.ศ.130 กลุ่มผู้ก่อการกบฏ ร.ศ.130 ส่วนใหญ่เป็นนายทหารหนุ่มซึ่งมีแนวคิดสมัยใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรงไม่พอใจวิธีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต้องการให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยเร็ว จึงร่วมกันคบคิด แต่ความลับรั่วไหลเสียก่อนถูกจับได้ทั้งหมดจึงถูกจำคุกบ้าง รอการลงอาญาบ้าน แต่ภายหลังก็ทรงพระราชทางอภัยโทษให้ทั้งหมด อีกทั้งยังแจกกางเกง ผ้าขาวม้า และเงิน 100 สตางค์ให้ทุกคนอีกด้วย การพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้อาจนับได้ว่าพระองค์ทรงเล็งเห็นความปรารถนาดีของกลุ่มก่อการกบฏ ที่ต้องการให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศจึงไม่ทรงเอาโทษจัดเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยอีกอย่างหนึ่งของพระองค์
การปูพื้นฐานประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7
ได้กล่าวมาแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชย์ ในปีพ.ศ.2468 ท่ามกลางกระแสความคิดแบบประชาธิปไตย บรรดาสื่อมวลชนในเวลานั้น ซึ่งได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวันและรายคาบ ต่างตีพิมพ์บทความแสดงความคิดเห็นทางการเมือง วิพากษ์วิจารณ์การบริหารราชการแผ่นดิน และข้อขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์กับราษฎรสามัญอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน นับเป็นแรงกดดันอย่างสำคัญที่พระองค์จะต้องทรงเร่งรีบพิจารณาพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนโดยเร็ว
สิ่งที่ปรากฏชัดว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงปรารถนาที่จะให้ประชาชนปกครองตนเอง ได้แก่ การที่พระองค์พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาขณะที่ประทับรักษาพระเนตรอยู่ที่นั่นว่า พระองค์กำลังทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย และเมื่อเสด็จกลับประเทศไทยก็ทรงมีพระราชดำริชัดเจนว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 เมษายน 2475 วันเดียวกับวันพระราชพิธีเปิดสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ) เนื่องในโอกาสฉลองกรุงที่กรุงรัตนโกสินทร์สถิตสถาพรมาครบ 150 ปี โดยทรงให้ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศจัดร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย ได้มอบหมายต่อให้พระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศกับ นายเรย์มอนด์ สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองต่างถวายร่างของตน และถวายความเห็นตรงกันว่ายังไม่ควรปกครองประเทศในระบบรัฐสภา เนื่องจากประชาชนยังไม่พร้อม ควรทดลองในระดับท้องถิ่น (เทศบาล) ก่อน ที่สำคัญ คือพระองค์ยังทรงได้รับการทัดทานการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
จากพระบรมวงศานุวงศ์ในอภิรัฐมนตรีสภา จึงมิได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญตามกำหนดังกล่าว พระราชปณิธานอันนี้เองที่อธิบายได้ว่า เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจเหตุใดพระองค์จึงทรงยินดีมอบรัฐธรรมนูญ
ให้แก่พสกนิกรของพระองค์ โดยมิได้ทรงขัดขวาง จะมีขัดขวางก็ที่พระราชวงศ์ผู้ใหญ่บางพระองค์เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475
นอกจากสาเหตุดั้งเดิมได้กล่าวมาแล้ว ยังเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1.เศรษฐกิจตกต่ำ ในระหว่าง พ.ศ.2472-2474 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก สินค้าไทยโดยเฉพาะข้าวราคาตกต่ำ เกิดภาวะขาดแคลนทั่วประเทศ ประกอบกับประเทศไทยมี รายจ่ายเกินกว่ารายได้ต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้ฐานะการเงินการคลังของรัฐบาลอยู่สภาพคลอนแคลน
รายได้ – รายจ่ายของประเทศ พ.ศ.2463 – 2468
ปีงบประมาณ |
รายได้
|
รายจ่าย
|
จ่ายเกิน
|
พ.ศ.2463
|
72,500,000
|
82,130,126
|
9,630,126
|
พ.ศ.2464
|
77,800,000
|
82,030,582
|
4,232,582
|
พ.ศ.2465
|
79,000,000
|
87,416,713
|
8,416,713
|
พ.ศ.2466
|
80,000,000
|
90,216,043
|
10,216,043
|
พ.ศ.2467
|
84,000,000
|
93,125,688
|
9,125,688
|
พ.ศ.2468
|
91,000,000
|
94,875,238
|
3,875,238
|
ที่มา : เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, คณะราษฎร : ความขัดแย้งและรูปแบบเพื่อการครองอำนาจ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 6 (10)
มิถุนายน 2515 หน้า 59 ซึ่งรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 7 พยายามแก้ไขสถานะการคลังเป็นหลายวิธี เช่น ลาออกจากองค์การมาตรฐานทองคำ กำหนดค่าเงินบาทขึ้นใหม่ แต่ที่สำคัญซึ่งได้รับความเดือดร้อนกันทั่วไป คือ การเพิ่มภาษีราษฎรและการปลดข้าราชการออกเพื่อรักษาดุลยภาพทางการเงินสร้าง ความไม่พอใจให้แก่ข้าราชการที่พูดกันในสมัยนั้นว่า ถูกดุล เป็นอันมาก
2.ความขัดแย้งระหว่างสามัญชนกับพระราชวงศ์ สามัญชนมีการศึกษาสูงขึ้น ที่จบจากต่างประเทศ กลับเข้ามารับราชการก็มีมาก แต่บรรดาเจ้านายพระราชวงศ์บางพระองค์ทรงไม่สามารถปรับพระองค์ได้ ยังทรงถือเป็นข้าหรือบ่าวอยู่ตามเดิมอยู่ในลักษณะดูหมิ่นดูแคลน ทำให้สามัญชนที่มีความรู้ความสามารถเกิดน้อยเนื้อต่ำใจ
3.แนวคิดที่ได้รับจากตะวันตก ข้าราชการที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตกต้องการให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
4.การประวิงเวลาพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 เมษายน 2475 การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มิอาจพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสสมโภชกรุงครบรอบ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 เพราะได้รับการทัดทานจากคณะอภิรัฐมนตรี เป็นการเร่งรัดให้มีการปฏิวัติโดยเร็วยิ่งขึ้น เพราะข้าราชการที่มีความคิดก้าวหน้าเห็นว่า หนทางที่จะได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยไม่ใช้กำลังบังคับนั้นไม่มีแล้ว
เหตุการณ์การปฏิวัติ
กลุ่มผู้ริเริ่ม คือ นักเรียนไทยในฝรั่งเศส ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญตั้งแต่ต้น ได้แก่ นายปรีดี พนมยงค์ กับ ร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ เมื่อบุคคลเหล่านี้กลับประเทศไทย ก็รวบรวมผู้คนซึ่งมีความคิดอย่างเดียวกัน โดยนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งได้รับพระราชทางบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ มนูธรรมเป็นผู้ดำเนินการด้านพลเรือน และร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ ซึ่งได้เลื่อนยศมีบรรดาศักดิ์เป็นพันตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้ดำเนินการด้านทหาร เมื่อรวบรวมผู้คนได้จำนวนมากพอสมควรจึงตั้งชื่อ คณะปฏิวัติว่า คณะราษฎร มีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า พันเอกพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ (สละ เอมะศิริ) และพันโทพระประสาทพิทยยุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นรองหัวหน้า
การปฏิวัติเริ่มในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยอ้างกับกองทหารต่างๆ ว่าเป็นการซ้อมรบยุทธวิธีอย่างใหม่ เมื่อมาถึงพร้อมกันจึงได้ประกาศว่าเป็นการปฏิวัติ หลังจากพระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศแล้วจึงส่งกำลังเข้าควบคุมสถานที่สำคัญๆ ทางราชการในกรุงเทพฯ และแยกย้ายกันไปถวายอารักขา (ควบคุม) พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงและบุคคลสำคัญเพื่อเป็นตัวประกันสำหรับต่อรอง เช่น จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประธานอภิรัฐมนตรีสภา และเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ขณะนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการพระนครอยู่พระองค์ท่านทรงตัดสินพระทัยไม่ใช้กำลังโต้ตอบคณะราษฎรให้เกิดการเสียเลือดเนื้อขึ้น และทรงยินยอม ออกแถลงการณ์ให้ประชาชนอยู่ในความสงบ ระหว่างนั้นทางฝ่ายคณะราษฎรได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนทราบ และได้แถลงหลัก 6 ประการ อันเป็นนโยบายของคณะราษฎรที่จะนำมาใช้บริหารประเทศ
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
1.หลักเอกราช จะรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางการศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.หลักความปลอดภัย จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก และสร้างความสามัคคีของคนในชาติ
3.หลักเศรษฐกิจ จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.หลักเสมอภาค จะให้ราษฎรมีสิทธิเสมอหน้ากัน ไม่ให้ผู้ใดมีสิทธิเหนือผู้อื่น
5.หลักเสรีภาพ จะให้ราษฎรมีอิสระที่จะใช้สิทธิ ผู้ใดจะบังคับมิได้
6.หลักการศึกษา จะให้การศึกษาแก่ราษฎรอย่างทั่วถึง
หลังจากนั้นคณะราษฎรได้ทำหนังสือไปกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงยอมรับตามข้อเสนอของคณะราษฎร เพื่อให้ประเทศชาติมีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศตามที่ทรงมีพระราชปณิธานอยู่แล้ ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองประสบความสำเร็จ โดยปราศจากการเสียเลือดเนื้อ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้นำรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่ง
หลวงประดิษฐ์มนูธรรมและคณะราษฎรบางคนได้ร่างขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
จากนั้นคณะราษฎรจึงได้คัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 คน ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ตั้งขึ้นเป็นสภาผู้แทนราษฎร ละได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ชุด ชุดแรกมีจำนวน 14 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ชุดที่สองจำนวน 9 คน เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
พัฒนาทางการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน)
วิกฤตการณ์ทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้วจึงได้มีการตั้งคณะรัฐมนตรี จำนวน 20 คนทำหน้าที่บริหารประเทศ มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่รัชกาลที่ 7 พระราชทานให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ มีดังนี้
1.พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดมิได้
2.อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพระประมุข ทรงใช้อำนาจนี้แก่โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
3.พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีสมาชิก 2 ประเภท จำนวนเท่ากันเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยมีสมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งเข้ามา และประเภทที่ 2 ได้แก่สมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
4.พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 นาย อย่างมาก 24 นาย
5.พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย เพื่อพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้เกิดความยุ่งยากทางการเมืองขึ้น ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความคิดเห็นขัดแย้งในคณะรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจนี้ดำเนินการตามหลักการของประเทศสังคมนิยม ซึ่งก็สอดคล้องกับพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 ในขณะเดียวกันพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ออกคำสั่งห้ามข้าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าเป็นสมาชิกสมาคม
เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งเท่ากับจะเป็นการล้มคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และออกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผลทำให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องเดินทางออกนอกประเทศ ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎรจึงปรากฏเด่นชัดขึ้น ในที่สุด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อำนาจของคณะราษฎรจึงคืนกลับมาอีกครั้งหนึ่งพร้อมกันนั้นหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้เดินทางกลับประเทศไทยเข้าร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
วิกฤตการณ์ทางการเมืองและการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก
นโยบายของไทยที่มีต่อการล่าอาณานิคม
การดำเนินวิเทโศบายของรัชกาลที่ 4 และ 5 ในยุคล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกพระองค์ทรงตะหนักถึงความเป็นมหาอำนาจของชาติตะวันตก การต่อต้านโดยใช้กำลังจึงเป็นไป ไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีการอื่นแทน ซึ่งพอสรุปได้ 3 ประการ ได้แก่
1. การผ่อนหนักเป็นเบา
2. การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย
3.การผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป
การผ่อนหนักเป็นเบา
1.ยอมทำสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญาเบาริง ทำกับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 4 แม้จะทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้เสียเปรียบให้น้อยที่สุด
2.การยอมเสียดินแดน รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงทราบดีถึงวิธีการเข้าครอบครองดินแดนไว้เป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก เช่น ขั้นแรกจะเน้นเข้ามาค้าขายหรือเผยแพร่ศาสนาก่อนแล้วภายหลังก็จะอ้างถึงข้อขัดแย้ง หรือขอสิทธิพิเศษ (เช่น ขอเช่าเมือง,แทรกแซงกิจการ ภายในประเทศ) ขั้นต่อไปก็จะส่งกำลังทหารเข้ายึด อ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนให้ปลอดภัยหรือเพื่อเป็นหลักประกันให้ปฏิบัติตามสัญญา ขั้นสุดท้ายก็ใช้กำลังเข้ายึดเพื่อเอาเป็นดินแดนอาณานิคม โดยอ้างข้อพิพาทต่างๆ (กรณีอังกฤษยึดพม่า) ด้วยพระปรีชาสามารถในการหยั่งรู้ความคิดนี้ ทำให้พระองค์สามารถประคับ ประครองให้ชาติไทยพ้นจากการถูกยึดครองของชาวตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ของชาติเอาไว้ (ถือเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะทำเพื่อรักษาเอกราชเอาไว้)
นโยบายผ่อนหนักเป็นเบา
1. สนธิสัญญาเบาริง ข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งของไทยจากสนธิสัญญาเบาริง สนธิสัญญาเบาริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน ในบรรดาความเสียเปรียบเหล่านั้นมีความเสียเปรียบ ที่ยิ่งใหญ่ 2 ประการ
1.ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ สิทธิที่ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เมื่อคนอังกฤษหรือคนในบังคับอังกฤษ (ประเทศอาณานิคมของอังกฤษ) หรือคนชาติใดๆ ที่ขอจดทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษ ทำความผิดหรือมีคดี กับคนไทย ในระเทศไทย ให้ไปขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ โดยอ้างว่า กฎหมายของไทยป่าเถื่อนและล้าหลัง
2.ทำให้อังกฤษเป็นชาติอภิสิทธิ์ คือ อังกฤษเป็นชาติที่มีสิทธิพิเศษ ไม่ว่าไทยจะทำสัญญากับประเทศอื่นใด ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริง ก็ให้ถือว่าอังกฤษมีสิทธิเช่นเดียวกับชาตินั้นๆ โดยอัตโนมัติ
2. การยอมเสียดินแดนการเสียดินแดนของไทยเป็นการเสียให้แก่ชาติตะวันตกเพียง 2 ชาติ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการเสียให้แก่ฝรั่งเศส ครั้งแรกเสียไปในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
หลังจากนั้นเป็นการเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทั้งสิ้น
การเสียดินแดนเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายในการรักษาเอกราชของชาติ การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเร่งปรับปรุงชาติบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ และการเสด็จประพาสยุโรปเพื่อผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจในยุโรปถึง 2 ครั้งของพระองค์ เป็นเครื่องยืนยันพระราชวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้ ทุกครั้งที่ทรงยินยอมเสียดินแดนไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทั้งสิ้น
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์
ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 4
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4
สาเหตุการปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4
1.ทรงได้รับแนวคิดจากชาวตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้สัมผัสและทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่
2.เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และเป็นพื้นฐานที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป เพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติให้พื้นจากการครอบครองของประเทศ ตะวันตกที่กำลังขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้น
การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4
1.ออกประกาศต่างๆ เรียกว่า ประกาศรัชกาลที่ 4 เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารระเบียบแบบแผนการปฏิบัติของผู้คนในสังคมอย่างถูกต้อง
2.ปรับปรุงกฎหมาย ทรงตราพระราชกำหนดกฎหมายใหม่ และออกประกาศข้อบังคับต่างๆ ถือว่าเป็นกฎหมายเช่นเดียวกันรวมทั้งหมดประมาณ 500 ฉบับ
3.โปรดให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมหาราชวัง มีชื่อเรียกว่า “โรงอักษรพิมพการ” เพื่อใช้พิมพ์ประกาศและกฎหมายต่างๆ เป็นหนังสือแถลงข่าวของทางราชการ เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา
4.ให้ราษฎรมีโอกาสได้ถวายฎีการ้องทุกข์ได้สะดวก พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีการร้องทุกข์ โดยพระองค์จะเสด็จออกมารับฎีการ้องทุกข์ด้วยพระองค์เองทุกวันโกณ ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เดือนละ 4 ครั้ง และโปรดเกล้าฯให้ตุลาการ ชำระความให้เสร็จโดยเร็ว ทำให้ราษฎรได้รับความยุติธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
5.ทรงประกาศให้เจ้านายและข้าราชการทำการเลือกตั้งตำแหน่ง พระมหาราชครูปุโรหิตาจารย์ และตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งที่ว่างลง แทนที่ พระองค์จะทรงแต่งตั้งด้วยพระราชอำนาจของพระองค์เอง นับเป็นก้าวใหม่ของการเลือกตั้งข้าราชการบางตำแหน่ง
6.การปรับปรุงระบบการศาล ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่างเกี่ยวกับระบบ การศาล ได้แก่ ทรงยกเลิกการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาล เริ่มมีการจัดตั้ง ศาลกงสุลเป็นครั้งแรก
7.ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงเสวย น้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการ และทรงปฏิญาณนความซื่อสัตย์ของ พระองค์ต่อข้าราชการทั้งปวงด้วย ซึ่งแต่เดิม ขุนนางข้าราชการจะเป็นผู้ ถวาย สัตย์ปฏิญาณแต่เพียงฝ่ายเดียว นับว่าพระองค์ทรงมีความคิดที่ทันสมัยมาก
8.ทรงริเริ่มการจัดกองทหารแบบตะวันตก
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์
ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 5
สาเหตุสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
1.ปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อป้องกันการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก
2.การปกครองแบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้าปฏิรูปการปกครองใหม่ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง
การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) สมาชิกสภาประกอบด้วยข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาจำนวน 12 คน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมีหน้าที่ ถวายคำปรึกษาในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดินโดยทั่วไป พิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ
2.องคมนตรีสภา (สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์) (Privy Council) สมาชิกประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ ์และข้าราชการระดับต่างๆ จำนวน 49 คน ทำหน้าที่ ถวาย คำปรึกษาข้อราชการและเสนอความคิดเห็นต่างๆ และมีหน้าที่ช่วยปฏิบัติราชการ ตามแต่จะมีพระบรมราชโองการ ปัจจุบันคือ คณะองคมนตรี
ต่อมาภายหลัง 2 สภาถูกยกเลิกไปเพราะขุนนางไม่พอใจ คิดว่ากษัตริย์จะล้มล้างระบบขุนนาง จึงเกิดการ ต่อต้าน
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5
มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิก จตุสดมภ์ และใช้การบริหารงานแบบกระทรวงตามแบบอย่างของตะวันตก โดยจัดรวมกรมต่างๆ ที่มีลักษณะงาน คล้ายๆ กันมาเป็นกรมขนาดใหญ่ 12 กรม
ต่อมาเปลี่ยนเป็น กระทรวง อยู่ในความดูแลของเสนาบดี มี 12 กระทรวง
1.กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งเมืองประเทศราชทางเหนือ
2.กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้รวมทั้งเมืองประเทศราชทางใต้
3.กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ
4.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ ตลอดจนพิจารณาคดีแทนพระมหากษัตริย์
5.กระทรวงเมือง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในพระนคร ดูแลรักษาบัญชีคนดูแลเกี่ยวกับคุก ดูแลกิจการตำรวจ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงนครบาล)
6.กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ จัดการเรื่องการเพาะปลูก การป่าไม้ เหมืองแร่ การค้าขาย และการขุดคลอง รวมทั้งโฉนดที่ดิน ที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 5 นี่เอง
7.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร รายรับ-รายจ่ายของแผ่นดิน ตลอดจนรักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน
8.กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องการทหาร ทั้งทหารบก และทหารเรือ
9.กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์
10.กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนการไปรษณีย์โทรเลขและการรถไฟ
11.กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยรวมการพิจารณาพิพากษาคดี ที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆเข้าด้วยกัน
12.กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร ตลอดจนพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการต่างๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
ต่อมาได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหมและยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง เพื่อความเหมาะสมและรัดกุมมากยิ่งขึ้นและให้กระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เกี่ยวกับการทหาร ทั่วประเทศอย่างเดียว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ยาวนานมาก (23ปี)
มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการบริหารงานในกระทรวงมหาดไทยมีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
มีผลงานด้านการปกครองที่สำคัญคือการจัดตั้งมณฑล 18 มณฑล จังหวัด 71 จังหวัด อันเป็นรากฐานสำคัญในการปกครองและบริหารท้องที่ในปัจจุบันจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 5
1.ยกเลิกหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา และยกเลิกหัวเมืองประเทศราช จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล
เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เป็นการรวมอำนาจตามหัวเมืองเข้าสู่ราชธานี
1.1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ดูแล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น เมือง
1.2 เมือง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแล แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ
1.3 อำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ดูแล แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็นตำบล
1.4 ตำบล มีกำนันเป็นผู้ดูแล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน
1.5 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล
การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นของรัชกาลที่ 5
1.ทรงริเริ่มให้สิทธิแก่ราษฎรในการเลือกผู้ปกครองตนเองเป็นครั้งแรก โปรดเกล้าฯให้มีการทดลองเลือกตั้ง “ผู้ใหญ่บ้าน”ที่บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาใน พ.ศ.2440 ทรงออกพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 กำหนดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยอาศัยเสียงข้างมากของราษฎร
2.โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่บริหารงาน สุขาภิบาล มีรายได้จากภาษีโรงเรือนในท้องถิ่น
ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5
1.ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
2.รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งการคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ต่อประเทศไทย
3.ทำให้กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครอง พากันก่อปฏิกิริยาต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ดังจะเห็นได้จากกรณีกบฏผู้มีบุญภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 กบฏแขกเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.121 แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานสถารณ์ไว้ได้
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์
ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 6
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
1.การจัดตั้ง ดุสิตธานี เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดฯให้สร้างนครจำลองขึ้น
พระราชทานนามว่า ดุสิตธานี เดิมตั้งอยู่ที่พระราชวังดุสิต ต่อมาย้ายไปอยู่ที่พระราชวังพญาไท (บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯในปัจจุบัน)
ภายในดุสิตธานีมีสิ่งสมมุติ หรือ แบบจำลองต่างๆ เช่น ที่ทำการรัฐบาล วัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน ถนน สาธารณูปโภค สถานที่ราชการ ฯลฯ
โปรดฯ ให้มีการบริหารงานในดุสิตธานี โดยวิธีการเลือกตั้งตามแบบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งในระบบพรรคการเมือง
พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก เป็นผู้จัดตั้งคณะผู้บริหารดุสิตธานี เรียกว่า นคราภิบาล
ลักษณะการบริหารงานในดุสิตธานี เป็นการจำลองการบริหารงานแบบเทศบาล ของประเทศตะวันตก
การปรับปรุงการปกครองส่วนกลางของรัชกาล 6
1.โปรดให้จัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธิการ (ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกไป) กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์
2.ทรงยกเลิกกระทรวงนครบาล รวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทย
3.ทรงให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการ เป็นกระทรวงคมนาคม
การปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 6
1.ปรับปรุงเขตการปกครองของมณฑล บางมณฑล
2.โปรดฯให้รวมมณฑลที่อยู่ติดกันหลายๆ มณฑล รวมกันเป็น ภาค แต่ละภาคมีอุปราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ตรวจตราควบคุมดูแลการบริหารงานของสมุหทศาภิบาลมณฑลในภาคนั้น ๆ
3.เปลี่ยนคำว่า เมือง เป็น จังหวัด
การขยายกิจการทหารของรัชกาลที่ 6
ทรงจัดตั้งกระทรวงทหารเรือ กองบิน และสร้างสนามบินขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6
ได้มีเหตุการณ์ ร.ศ.130 ในปีพ.ศ.2445 มีนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งได้เตรียมการยึดอำนาจ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาสู่ระบอบประชาธิปไตย
แต่รัฐบาลได้ล่วงรู้ก่อนได้จับกุมกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 จำคุกและได้รับการลดโทษและอภัยโทษภายหลัง
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์
ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 7
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7
2.ทรงแต่งตั้งองคมนตรีสภา มีหน้าที่พิจารณาถวายความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่ออกใหม่และการบริหารราชการด้านต่างๆ
3.ทรงแต่งตั้งเสนาบดีสภา มีหน้าที่ในการถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายงานในหน้าที่ของกระทรวง สมาชิกเสนาบดีสภา ประกอบด้วย เสนาบดีบังคับบัญชากระทรวงต่างๆ
การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง
การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2475-2461) ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายลดหน่วยราชการ จึงรวมกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงพาณิชย์ เข้าด้วยกัน เรียกชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์และการคมนาคม
การปรับปรุงการบริหารส่วนภูมิภาค
1.ยกเลิกมณฑลบางมณฑลที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยรวมมณฑลหลายมณฑลเข้าด้วยกัน2.ยุบเลิกจังหวัดบางจังหวัด
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.ผู้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ คณะราษฎร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน นำโดย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าฝ่ายทหาร คือ จอมพลแปลก(ป) พิบูลสงคราม หัวหน้าฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม)เข้าทำการยึดอำนาจและส่งผู้แทนเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ก็ทรงยอมรับข้อเสนอของคณะราษฎร และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ซึ่งประเทศไทยถือวันนี้ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ
3.วันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
4.พระมหากษัตริย์องค์แรกของการปกครองแบบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ รัชกาลที่ 7
5.นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
การปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทยรัชกาลที่ 4-7
การปฏิรูปกฎหมายและการศาลของรัชกาลที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นระยะเวลาที่ชาวตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย แม้จะมีการออกประกาศและตรากฎหมายต่างๆ ขึ้นมาใช้บังคับราษฎร
แต่ยังมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ที่เรียกว่า จารีตนครบาล คือ การพิจารณาคดีที่ถือว่า ผู้ใดถูกกล่าวหา ผู้นั้นต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าตนบริสุทธิ์ และมีการทำทารุณกรรม เพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพว่าทำผิด เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ จนกว่าจะรับสารภาพ
ซึ่งชาวตะวันตกเห็นว่าเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม จึงไม่ยอมให้ใช้กับคนในบังคับของตน เป็นเหตุให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (สิทธิทางการศาล)
โดยไทยต้องยอมให้ต่างประเทศตั้งศาลกงสุลชำระคดีความที่คนของตนและคนในบังคับตน ทำความผิดในประเทศไทย ซึ่งเท่ากับทำให้ไทยเสียเอกราชทางการศาล
รัชกาลที่ 5 จึงทรงพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ขึ้น ได้แก่
1.จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.24342.จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย (ภายหลังได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ หรือพระนามเดิมคือ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ โอรสของรัชกาลที่ 5 หลังจากสำเร็จวิชากฎหมายจาก มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ก็กลับมารับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น และทรงดำเนินการสอนเอง ภายหลังได้รับการยกย่อง ว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย
3.ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ในพ.ศ.2451 จัดเป็นกฎหมายแบบใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย
4.ยกเลิกกฎหมายตราสามดวง และประกาศใช้กฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือร.ศ.120 กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ.2448 ฯลฯ
5.มีการปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุมและชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
6.ปรับปรุงรวบรวมปรับปรุงศาล เพื่อให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ตราพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม พ.ศ.2451 ให้มีศาลฎีกา ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง
7.ในพ.ศ.2455 มีการจัดระบบศาลใหม่ ให้มีศาลในกระทรวงยุติธรรม 2 แผนก คือ
1.ศาลยุติธรรมกรุงเทพฯ ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลพระราชอาญา ศาลแพ่ง ศาลต่างประเทศ ศาลโปรีสภา2.ศาลหัวเมือง ได้แก่ ศาลมณฑล ศาลเมือง และศาลแขวงการปฏิรูปกฎหมายและการศาลของไทยนอกจากจะเป็นผลงานของ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการไทยแล้ว ยังได้ว่าจ้างนักกฎหมายชาวญี่ปุ่น และชาวยุโรป มาช่วยด้วย
การปรับปรุงกฎหมายและการศาลของรัชกาลที่ 6
1.ปรับปรุงระเบียบการศาล โดยแบ่งงานในกระทรวงยุติธรรมเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายธุรการ กับฝ่ายตุลาการ โดยตุลาการทำหน้าที่พิจารณาคดีได้อย่างอิสระ2.มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นครั้งแรก3.โปรดฯให้ตั้งสภานิติศึกษา มีหน้าที่จัดระเบียบและวางหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนกฎหมาย
ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,
(กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)
คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)
สุคน สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)